วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดบททที่ 5


        1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ

   ตอบ   เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย

      2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์การอย่างไร

        ตอบ การพัฒนาโครงสร้างการบริหาร 
การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์กร 
การสื่อสารภายในองค์กร (Internal Communication)
 เช่น  การใช้อีเมล์ (Email)  การสร้างเว็บสื่อสารสำหรับพนักงาน (Employees’ Portals) 
การสร้างเว็บเพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงและดูแลรักษาข้อมูลส่วนตัว (Employee Self Service) 
การสร้างเว็บเพื่อให้ผู้บริหารสามารถจัดการและบริหารทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานได้ (Manager Self Service) 
การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูลทางโทรศัพท์สำหรับพนักงาน ( Employee Call Center ) 
การใช้การประชุมทางไกลด้วยวิดีโอ (VDO Conference) 
การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Business Process Improvement)

3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

       ตอบ  แบ่งเป็น ยุค
    ยุคที่ การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
    ยุคที่ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
    ยุคที่ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ 
    ยุคที่ ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

       4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย อย่าง

      ตอบ    การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
        1.  การรวบรวมข้อมูล  การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก  จะต้องมีการดำเนินการที่รอบคอบและเป็นระบบ  ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันเวลา  เช่น  การลงทะเบียนเรียน  การมาเรียน  การยืมคืนหนังสือห้องสมุด  จึงต้องมีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บ
        2.  การตรวจสอบข้อมูล  เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง  ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้  นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3.  การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ  การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล  ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งกลุ่ม  เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน

แบบฝึกหัดบทที่ 6



1. การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศ
    2. เทคโนโลยี
    3. สารสนเทศ
    4. พัฒนาการ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
    1. ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
    2. ระบบการเรียนการสอนทางไกล
    3. การสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
    4. การพยากรณ์อากาศ
3.การฝากถอนเงินผ่านตู้ ATM เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด?
    1. ระบบอัตโนมัติ
    2. เปลี่ยนรูปเเบบการบริการเป็นเเบบกระจาย
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ
    4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. ระบบการโอนถ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
    2. บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต
    3. การติดต่อข้อมูลทางเครือข่าย
    4. ถูกทุกข้อ
5. เทคโนโลยีสารสนเทศหายถึงข้อใด?
    1. การประยุกต์เอาความรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์
    2. ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี
    3. การนำเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ
    4. การนำเอาคอมพวิเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
6.เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
    1. เทคโนโลยีการสื่อสาร
    2. สารสนเทศ
    3. คอมพิวเตอร์
    4. ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
    2. เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเปลี่อนสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน หรือสอบถามผลสอบได้
    3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้บุคคลทุกระดับติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว
    4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างหอพักอาศัยที่มีคุณภาพ
8. ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
    1. เครื่องถ่ายเอกสาร
    2. เครื่องโทรสาร
    3. เครื่องมินิคอมพิวเตอร์
    4. โทรทัศน์ วิทยุ
9. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ?
    1. เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ
    2. พัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านฮาร์ดเเวร์ ซอฟต์เเวร์ ข้อมูล และการสื่อสาร
    3. ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
    4. จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
10.  ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน?
    1. ตรวจสอบผลการลงทะเบียน ผลการสอบได้
    2. สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเเหล่งข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกได้
    3. ติดต่อสื่อสารกับเพื่อน ครู อาจารย์ หรือส่งงานได้ทุกที่
    4. ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัดบทที่ 7 - 8 การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน

นางสาววนิดา  เนินทอง รหัส 51011011628 


รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 

0026008


แบบฝึกหัดบทที่ 7


1. หน้าที่ ของไฟร์วอลล์

ตอบ  ไฟร์วอลล์ คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ตรวจสอบข้อมูลซึ่งมาจากอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่าย จากนั้นอาจบล็อกข้อมูลนั้นหรือปล่อยให้ข้อมูลนั้นผ่านเข้ามายังคอมพิวเตอร์ของคุณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าไฟร์วอลล์ของคุณ
ไฟร์วอลล์จะช่วยป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์หรือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย (เช่น หนอน) เข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณผ่านทางเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ ไฟร์วอลล์ยังช่วยหยุดไม่ให้คอมพิวเตอร์ของคุณส่งซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นอีกด้วย

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์

ตอบ  เวิร์ม (Worm)  มีลักษณะและพฤติกรรมคัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย และเหมือนจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจมากที่สุด
        
         ไวรัสคอมพิวเตอร์  คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) หรือระบบเครือข่ายข้อมูล

        อาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พอจะคาดคะเนได้ว่าติดไวรัส
  • การทำงานของคอมพิวเตอร์ช้ากว่าปกติ
  • คอมพิวเตอร์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ข้อมูลหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ส่งเสียง หรือข่าวสารแปลกออกมา
  • ไดร์ฟ หรือฮาร์ดดิสก์หยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไฟล์ในแผ่นดิสก์ หรือฮาร์ดดิสก์ถูกเปลี่ยนเป็นขยะ 


     
            Spyware  คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่างได้แก่ ชื่อ - นามสกุล , ที่อยู่ , E-Mail --mlinkarticle--} Address และอื่น ๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงสิ่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Password หรือ หมายเลข บัตรเครดิตของเราด้วย นอกจากนี้อาจจะมีการสำรวจโปรแกรม และไฟล์ต่าง ๆ ในเครื่องเราด้วย  และ Spyware นี้จะทำการส่งข้อมูลดังกล่าวไปในเครื่องปลายทางที่โปรแกรมได้ระบุเอาไว้ ดังนั้นข้อมูลต่าง ๆ ในเครื่องของคุณอาจไม่เป็นความลับอีกต่อไป spyware อาจเข้ามาเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย 

3. ไวรัสคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นกี่ชนิด

ตอบ  ไวรัสคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มีนับล้านๆ ตัวแต่โดยพื้นฐานของมันแล้วมาจากแหล ่งกำเหนิดที่เหมือนๆ กันซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมา ได้ดังนี้



1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน
การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยค วามจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรม มา ก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น 


2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไ ปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่ อไป 


3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโ ปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการ
เข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโป รแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้ 


4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปล ี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรว จหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ ้นเรื่อย ๆ 


5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อกา รตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มข ึ้นได้
เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น 


6. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสี ยหายขึ้น 



4.อธิบายแนวทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ มา 5 ข้อ

ตอบ   1.ควรติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด เพราะจะทำให้สามารถดักจับและจัดการกับไวรัสตัวใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

   2.อย่าตั้งค่าให้โปรแกรมอีเมลเปิดไฟล์ที่แนบมาโดยอัตโนมัติ ควรจะต้องตรวจสอบก่อนดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์ขึ้นมา

   3.สแกนไฟล์แนบท้ายของอีเมลทุกฉบับ หรือแม้แต่อีเมลจากคนรู้จัก

   4.ตั้งค่าระบบป้องกันให้ทำงานทันทีที่เริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ใช้งาน 

  5.อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์ เพราะจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิด

ขึ้นทุกวัน


5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่

เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่

ตอบ   ปัจจุบัน ภัยคุกคามอันเกิดจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีมากมาย หนึ่งในภัยจากอินเทอร์เน็ตคือเรื่องเว็บลามกอนาจาร ปัจจุบันมีความพยายามที่จะแก้ไขปราบปรามการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยมีประเด็นนี้คือ

        “ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง อวดทำผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร ภาพระบายสีสิ่งพิมพ์ แถบยันทึกเสียง บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ”   โดยจะบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่างซอฟต์แวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภายทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ (House Keeper) เป็นโปรแกรมสำกรับแก้ปัญหา “ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บไม่เหมาะสมไม่ควร  ฯลฯ”    โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเตอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้นโยบายจากกระทรวงไอซีที ด้วยตระหนักในการทวีความรุนแรงของปัญหา จึงเกิดโครงการ ไอซีทีไซเบอร์แคร์ (ICT Cyber Care) โดยต่อยอดจากไอซีทีไซเบอร์คลีน (ICT Cyber Clean) แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ      1) ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ(Gateway) พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสทโทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูบไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง      2) House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นแผ่นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมี 3 ส่วน          - ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีที มีข้อมูลคาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง          - ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไวที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน 97ภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน         - ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ (Smart Gamer) แก้ปัญหาการติดแกม และควบคุมการเล่นเกมของเด็กๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลาโปรแกรมนี้จะพอช่วยบรรเทาปัญหาและเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตจาผองภัย เช่น กลุ่มเว็บโป้ ลามกอนาจาร กลุ่มเว็บกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ กลุ่มเว็บสอนใช้ความรุนแรง ทารุณ สอนเพศศึกษาแบบผิด ๆ ใช้ภาษาหยาบคาย สอนขโมยข้อมูลคอมพิวเตอร์ เป็นต้น




แบบฝึกหัดบทที่ 8


1.  ตอบ   ผิดจริยธรรมเพราะการสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์และทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายก่อกวนระบบถือว่าเป้นการผิดกฎหมายและจริยธรรม
      
2.  ตอบ   ผิดจริยธรรม เพราการพิมพ์ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ทำให้ผู้อื่นเกิดความสับสน ทั้งยังอ้างตำราข้อมูลต่างๆเพื่อให้ดูน่าเชื่อถืออีกด้วยทำให้เด็กที่มาค้นคว้าหาข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิดๆไปอีกด้วย

บทความที่3


         อากาศที่แสนจะร้อนอบอ้าวของฤดูร้อนนี้ ย่อมทำให้สาว ๆ รู้สึกหงุดหงิดกับเหงื่อ และความมันของผิวที่พร้อมที่จะเข้ามาทักทายเราได้ตลอดทั้งวันอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น การดูแลผิวก็ยังคงเป็นสิ่งที่สาว ๆ ละเลยไม่ได้โดยเด็ดขาด ยิ่งในฤดูที่แสงแดดแรงมาก ๆ อย่างที่เป็นทุกวันนี้ ยิ่งต้องเอาใจใส่ผิวกันไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยมี 5 วิธีเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับสาว ๆ ที่อยากจะดูแลผิวง่าย ๆ มาฝากกันค่ะ








            1. ครีมกันแดด สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยเมื่อต้องเผชิญแสงแดด ก็คือครีมกันแดดค่ะ และสำหรับแสงแดดที่แผดจ้าอย่างนี้ สาว ๆ ต้องเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปถึงจะพอค่ะ เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะสู้แสงแดดแรง ๆ ไม่ได้นะเออ

           2. ดื่มน้ำให้ได้ 8-10 แก้ว การดื่มน้ำเยอะ ๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยรักษาความชุ่มชื้นของผิว ในฤดูร้อนที่ผิวมักจะแห้งอย่างนี้ค่ะ

           3. น้ำเย็นช่วยฟื้นฟูผิว ไม่ว่าคุณจะออกไปโดนแดดมาเป็นเวลานาน หรือแดดจะแรงเท่าไหร่ กลับมาบ้าน ลองใช้น้ำเย็นล้างหน้า รับรองว่านอกจากจะรู้สึกผิวสดชื่นเย็นสบายแล้ว น้ำเย็นยังจะช่วยฟื้นฟูผิวหน้าได้เป็นอย่างดีด้วยค่ะ

          4. อย่าใช้รองพื้นที่หนาเกินไป เพราะคุณจะสวยได้ไม่นานหน้าก็จะมันเยิ้มจากการเผชิญแสงแดดร้อนจ้า ซึ่งแน่นอนว่า การที่ครีมรองพื้นละลายเข้ากับความมันบนใบหน้าแล้ว ใบหน้าคุณก็จะมีสิวเห่อเอาได้ง่าย ๆ ดังนั้น ควรทาครีมกันแดดและรองพื้นบาง ๆ ก็พอค่ะ หรือไม่ก็ทาแป้งแบบชริมเมอร์ก็ช่วยเรื่องความสว่างสดใสได้เยอะ ส่วนเครื่องสำอางนั้น ลองเลือกที่กันน้ำได้ก็จะลดปัญหาเครื่องสำอางละลายเปื้อนใบหน้าได้ค่ะ

           5. ทานผลไม้หรือน้ำผลไม้กันบ่อย ๆ เช่น แตงโม แคนตาลูป หรือผลไม้ธาตุเย็น เพราะผลไม้ประเภทนี้จะอุดมไปด้วยน้ำ ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวพอ ๆ กับน้ำเลยล่ะ แต่ดีตรงที่มันมีรสชาติดี และอาหารบำรุงผิวที่คุณจะได้มาพร้อมกับความหวานอร่อยของมันนั่นเอง ดังนั้น ทานผลไม้เยอะ ๆ กันให้ได้ทุกวันนะคะ


         เพียงแค่ 5 วิธีเท่านี้ ถ้าหากสาว ๆ ทำได้ล่ะก็ รับรองว่า ผิวคุณจะไม่แห้ง และสวยสดใสรับอากาศร้อน ๆ ได้อย่างไม่ยากเย็นเลยล่ะค่ะ ว่าแล้วเราก็เริ่มไปทำพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า..







http://www.kapook.com/




บทความที่ 4

นางสาววนิดา  เนินทอง รหัส 51011011628    Hos

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008


ภาวะโลกรอน ร้อน

คงไม่มีใครในโลกนี้ที่ไม่รู้จักคำว่าโลกร้อน เพราะตอนนี้ทั่วโลกกำลังตื่นตัวกันมากที่เดียวกับภาวะโลกเพราะความแปรปรวนของโลกในช่วงนี้ดูจะรุ่นแรงและบ่อยเหลือเกิน ซึ้งก็เกิดจากภาวะโลกร้อนนี้เอง  แล้วรู้ไหมโลกร้อนเกิดจากอะไรถ้าไม่รู้เรามาดูกันว่าเกิดจากอะไร
ภาวะเรือนกระจก ก็คล้ายกับการที่เราสร้างเรือนกระจกกลางแจ้ง แสงแดดสามารถผ่านเข้ามาในเรือนกระจก แต่ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกข้างนอกได้ ทำให้อุณหภูมิภายในเรือนกระจกสูงขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบันโลกสีน้ำเงินใบนี้ ก็ไม่ต่างจากเรือนกระจก

โดยปรกติชั้นบรรยากาศของโลกจะประกอบด้วยก๊าซชนิดต่างๆ และไอน้ำ เมื่อรังสีคลื่นสั้นจากดวงอาทิตย์ผ่านชั้นบรรยากาศเข้ามายังพื้นผิวโลก มันจะถูกดูดกลืนไว้ด้วยพื้นน้ำ พื้นดิน พืช และสัตว์ หลังจากนั้นก็จะคายออกมาเป็นพลังงานในรูปของรังสีคลื่นยาวอินฟราเรด ซึ่งเป็นคลื่นความร้อน กลับขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและบางส่วนก็ถูกกักเก็บไว้โดยก๊าซในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ดังนั้นที่ผ่านมาโลกของเราจึงสามารถรักษาอุณหภูมิได้อย่างเหมาะสม ไม่ร้อนจัดเหมือนดาวศุกร์ หรือเย็นจัดอย่างดาวอังคาร   แต่ปัจจุบันชั้นบรรยากาศของโลกไม่ได้อยู่ในภาวะปรกติอีกต่อไป 
แล้วอะไรทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกล่ะ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ และการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือการเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดไม้ทำลายป่านี้ นับว่าเป็นตัวการสำคัญที่สุด ในการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้เนื่องจากต้นไม้และป่าไม้มีคุณสมบัติที่ดี คือ มันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ป่าลดน้อยลง ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จึงขึ้นไปสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้มากขึ้น จากผลการศึกษาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยหน่วยงาน IPCC (Intergovernmental Panel on Climate Change) ประมาณตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา รายงานว่ามีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อใช้เป็นพื้นที่เมือง หรือการเกษตรมีประมาณ 1.6 Gtc (1.6 5 109 ตันคาร์บอน) ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ และแหล่งอื่นที่เป็นผลมาจากฝีมือ มนุษย์กำลังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผลการศึกษาของ IPCC ยังระบุชัดว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสม ในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าก๊าซชนิดอื่น ๆ ด้วย ซึ่งหมายถึงผลกระทบโดยตรงต่ออุณหภูมิของผิวโลกและชั้นบรรยากาศจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นต่อไปอีก ล่าสุดนี้หน่วยงาน IPCC ได้รายงานปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นโดยฝีมือมนุษย์นี้ ทำให้พลังงานรังสีความร้อนสะสมบนผิวโลก และชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 1.56 วัตต์ ต่อตารางเมตร ในปริมาณนี้ยังไม่คิดรวมผลกระทบที่เกิดขึ้นทางอ้อม ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์



ก๊าซมีเทน

แหล่งกำเนิดของก๊าซมีเทนมีอยู่มากมายทั้งในธรรมชาติ และที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ เช่น จากแหล่งนาข้าว จากการย่อย
สลายซากสิ่งมีชีวิต จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะการเผาไหม้ที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ สามารถทำให้เกิดก๊าซมีเทนในบรรยากาศสูงถึง 20% ของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาของ IPCC ว่าพื้นที่การเกษตรประเภทนาข้าวในประเทศแถบเอเชีย และออสเตรเลีย มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่มาก และมีปริมาณแตกต่างกันในแต่ละบริเวณ ขึ้นกับชนิดและคุณภาพของดินในแต่ละพื้นที่ แม้ว่าการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศ จะมีมากกว่ากรณีของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก๊าซมีเทนมีอายุสะสมเฉลี่ยประมาณ 11 ปี นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงเป็นสาเหตุให้ผลกระทบโดยตรง อันเนื่องจากภาวะเรือนกระจกโดยก๊าซมีเทนมีน้อยกว่าผลกระทบ อันเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ก็มีผลกระทบมากเป็นอันดับสองรองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีรายงานว่าพลังงานเฉลี่ยรวม ที่เกิดจากผลกระทบโดยตรงของก๊าซมีเทนประมาณ 0.47 วัตต์ต่อตารางเมตร


ก๊าซไนตรัสออกไซด์

แหล่งกำเนิดก๊าซไนตรัสออกไซด์คืออุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในขบวนการผลิต ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติกบางชนิด เป็นต้น แม้ว่าก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดจากธรรมชาติจะมีอยู่มากในภาวะปกติก็ตาม แต่อัตราการเพิ่มปริมาณดังกล่าวก็จัดอยู่ในภาวะที่สมดุลในธรรมชาติ ส่วนก๊าซไนตรัสออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์นั้นมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มพลังงานความร้อนสะสมบนพื้นผิวโลกประมาณ 0.14 วัตต์ต่อตารางเมตร นับตั้งแต่เริ่มมีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นถึงปัจจุบัน

ก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน

ก๊าซที่มีสารประกอบพวกคลอโรฟลูออโรคาร์บอนมีแหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่าง ๆ แม้ว่าก๊าซประเภทนี้จะมีปริมาณลดลง 40% เมื่อเทียบกับสิบกว่าปีก่อนหน้านี้ตามมาตรการควบคุมโดยสนธิสัญญามอนทรีออล (Montreal Protocol) แต่ปริมาณก๊าซคลอโรฟลูออโรคาร์บอนที่ยังมีสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศโดยฝีมือมนุษย์ ยังคงเป็นต้นเหตุที่ทำให้มีพลังงานความร้อนสะสม บนพื้นผิวโลกประมาณ 0.28 วัตต์ต่อตารางเมตร และยิ่งไปกว่านั้นผลกระทบทางอ้อมของก๊าซชนิดนี้ ทำให้เกิดอันตรายต่อบรรยากาศ และสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกมากมาย กล่าวคือก๊าซประเภทนี้สามารถรวมตัวทางเคมีได้ดีกับโอโซน จึงทำให้โอโซนในชั้นบรรยากาศลดน้อยลง หรือเกิดรูรั่วในชั้นโอโซนอันเป็นสาเหตุให้รังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตราย ต่อสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลกส่องผ่านลงมายังพื้นโลกได้มากขึ้น ทั้งยังทำให้รังสีคลื่นสั้นผ่านมาตกกระทบผิวโลกในสัดส่วนที่มากเกินภาวะสมดุล นับเป็นการทำให้ผิวโลกและบรรยากาศร้อนขึ้นโดยทางอ้อม
>>> รู้อย่างนี้แล้วเรามาดูวิธีช่วยกันลดโลกร้อนกันดีกว่า  10 วิธีง่ายๆแค่นี้ทำได้กันอยู่แล้วใช่ไหมล่ะเพื่อนๆ
ไปดูกันเลย

10 วิธีลดโลกร้อน 

1. เปลี่ยนหลอดไฟ การเปลี่ยนหลอดไปจากหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟหนึ่งดวง จะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 150 ปอนด์ต่อปี

2. ขับรถให้น้อยลง หากเป็นระยะทางใกล้ๆ สามารถเดินหรือขี่จักรยานแทนได้ การขับรถยนตร์เป็นระยะทางไมล์จะปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ปอนด์ 


3. รีไซเคิลของใช้ ลดขยะของบ้านคุณให้ได้ครึ่งหนึ่งจะช่วยลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2400 ปอนด์ต่อปี

4. เช็คลมยาง  การขับรถโดยที่ยางมีลมน้อย อาจทำให้เปลืองน้ำมันขึ้นได้ถึง 3% จากปกติ น้ำมันๆทุกๆแกลลอนที่ประหยัดได้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 20 ปอนด์

5. ใช้น้ำร้อนให้น้อยลง ในการทำน้ำร้อนใช้พลังงานในการต้มสูงมาก การปรับเครื่องทำน้ำอุ่น ให้มีอุณหภูมิและแรงน้ำให้น้อยลง
จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ได้ 350 ปอนด์ต่อปี หรือการซักผ้าในน้ำเย็นจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ปีละ 500ปอนด์

6. หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์เยอะ เพียงแค่ลดขยะของคุณเอง 10 % จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้1200 ปอนด์ต่อปี

7. ปรับอุณหภูมิห้องของคุณ(สำหรับเมืองนอก) ในฤดูหนาว ปรับอุณหภูมิของ heater ให้ต่ำลง องศา และในฤดูร้อน ปรับให้สูงขึ้น องศา จะลด คาร์บอนไดออกไซด์ ได้ 2000 ปอนด์ต่อปี

8. ปลูกต้นไม้ การ ปลูกต้นไม้ หนึ่งต้นจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ตัน ตลอดอายุของมัน

9. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช่ ปิดทีวี คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เมื่อไม่ใช้ จะลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นับพันปอนด์ต่อปี

และอย่างสุดท้าย
10. บอกเพื่อนๆของคุณเกี่ยวกับวิธีเหล่านี้ด้วยน่ะ